top of page
  • paapair3103

ประเพณีวันลอยกระทง


ตำนานเทศกาลวันลอยกระทง

ตำนานลอยกระทง แต่เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่าพระราชพิธีจองเปรียง ชักโคม ลอยโคม เพื่อเป็นการบูชาให้กับพระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม บางตำนานก็กล่าวว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทและขอขมาพระแม่คงคา เป็นการระลึกและรู้คุณของแหล่งน้ำต่างๆที่ทำให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ การลอยกระทงตามสายน้ำนี้นางนพมาศผู้เป็นธิดาของพระศรีมโหสถและนางเรวดี ซึ่งนางนพมาศเป็นผู้ที่มีรูปโฉมงดงามมีความสามารถเป็นเลิศในทุกด้าน ทำให้นางได้เข้ารับราชการเพราะนางมีความสามารถด้านอักษรศาสตร์ จนได้รับสมญานามว่ากวีหญิงคนแรกของไทย และนางก็ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงในตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์

ความเชื่อวันลอยกระทง กับสังคมไทย

ความเชื่อวันลอยกระทง ที่อยู่คู่กับคนไทยมาเป็นระยะเวลายาวนาน มีการตกแต่งกระทงให้สวยงาม ปักธูปเทียน ประดับดอกไม้ บางความเชื่อก็ตัดผมและเล็บ หรือใส่เหรียญลงไปในกระทงนั้น เพื่อเอาสิ่งไม่ดีที่อยู่กับตัวออกไป อีกทั้งยังเป็นการบูชาพระแม่คงคา ความเชื่อการขอขมาพระแม่คงคา บูชาเทพธิดาแห่งแม่น้ำเพื่อแสดงความเคารพ เป็นการบูชาพระพุทธเจ้าเพราะพระองค์ทรงตัดปมและดำเนินชีวิตแบบนักพรตตามตำนานเล่าว่าแม่น้ำทุกสายไหลลงมาจากสวรรค์ ดังนั้นคนไทยจึงลอยกระทงในแม่น้ำและแหล่งน้ำอื่นๆ

ประเพณีการลอยกระทงในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย

วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน ถือเป็น วันลอยกระทง 2566 ซึ่งในแต่ละปี แต่ละจังหวัดและภูมิภาคก็มีเอกลักษณ์การทำกิจกรรมในเทศกาลลอยกระทงแตกต่างกันออกไปอย่างเช่น

จังหวัดเชียงใหม่ : มีประเพณี ยี่เป็ง มีการปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้า

จังหวัดลำปาง : มีประเพณี ล่องสะเปา ซึ่งจพมีการประกวดขึ้นถึงสองวันในการทำกระทง

จังหวัดร้อยเอ็ด : มีประเพณี สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป

จังหวัดสกลนคร : มีการลอยกระทงจากกาบกล้วย

กรุงเทพมหานคร : มีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา : มีจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

จังหวัดตาก : มีการลอยกระทงสาย

จังหวัดสุโขทัย : มีประเพณี เผาเทียน เล่นไฟ


ดู 3 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page